One2car.com
แอปพลิเคชัน One2Car
ทำนายราคารถของคุณ
4.5
21,133

ขับรถแล้วง่วง ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง ทำยังไงดี?

เรื่องเด่น

ขับรถแล้วง่วง ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง ทำยังไงดี?

หลายๆ คนต้องเคยมีประสบการณ์ขับรถทางไกลแล้วง่วง ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดคอ ปวดหลัง และอาการอื่นๆ อีกมากมาย วันนี้เรามาหาคำตอบกันว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร แก้ได้อย่างไรบ้าง

ขับรถแล้วง่วงทำยังไงดี

ขับรถแล้วง่วง ทำไงดี?

สาเหตุของอาการง่วงตอนขับรถมีหลากหลายสาเหตุมาก โดยหลักๆ จะมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ง่วงจากฤทธิ์ยาบางประเภท ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้แก้ไขได้ง่ายๆ

  1. ลองเปิดช่องรับลมจากด้านนอกเป็นระยะเพื่อรับออกซิเจน เพราะว่าภายในรถยนต์มีอากาศค่อนข้างจำกัด หากเราเปิดช่องรับลมด้านนอกเป็นระยะจะช่วยลดอาการง่วงนอนขณะขับรถ และ ลดอาการเหนื่อยล้าได้
  2. ดื่มน้ำเป็นระยะ เพราะน้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดื่มง่ายที่สุดและสดชื่นที่สุดสำหรับร่างกายเรา การดื่มน้ำเปล่าจะเป็นการทำให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและตื่นตัวอยู่ตลอด
  3. อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งการอมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งยังทำให้เราได้รับพลังงานจากความหวานด้วย 
  4. ดมยาดมก็ช่วยได้ เมื่อรู้สึกเมื่อยล้า อ่อนเพลีย หรือ ง่วงนอน ให้ลองดมยาดมพร้อมกับหายใจเข้าลึกๆ เพื่อให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองให้เพียงพอ นอกจากนี้กลิ่นของยาดมยังช่วยให้เราสดชื่นสมองปลอดโปร่ง บรรเทาอาการมึนหัวขณะขับรถทางไกลได้ดีด้วย
  5. ลองพูดคุยกับเพื่อนๆ เพราะการพูดคุยนั้นจะเป็นการกระตุ้นให้เราตื่นตัวและยังทำให้เรามีความสนุกสนานกับการขบรถ หากเดินทางคนเดียวก็อาจจะลองนั่งร้องเพลง เพื่อให้เราไม่รู้สึกเบื่อ เพราะบางครั้งอาการง่วงก็เกิดจากความเบื่อได้
  6. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่เป็นคาเฟอีนจากธรรมชาติ เช่น ชา กาแฟ หรือ โกโก้ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เราตื่นตัว และคาเฟอีนจากธรรมชาติจะไม่ทำให้คนขับรู้สึปวดหรือหน่วงหัวเหมือนกับคาเฟอีนสังเคราะห์ในเครื่องดื่มชูกำลัง
  7. ลองหากิจกรรมทำระหว่างขับรถเพื่อทำให้สมองตื่นตัว เช่น ลองบวกเลขทะเบียนรถคันข้างหน้า อ่านป้ายสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด เป็นต้น แต่วิธีนี้ผู้ขับอาจจะต้องมีสมาธิในการควบคุมรถเพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็เป็นวิธีที่ช่วยบรรเทาอาารง่วงได้ดี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ระบายกลิ่นในรถโดยไม่ต้องลดกระจกด้วยปุ่มควบคุมช่องอากาศเข้า ทำอย่างไร?

ขับรถแล้วเมื่อย

ขับรถแล้วเมื่อย มีอาการปวดส่วนต่างๆ เกิดจากอะไร?

โดยรวมแล้วอาการปวดต่างๆ จะเกิดจากการที่เรานั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสมกับการขับขี่ เบาะอาจจะสูงไป ต่ำไป หรือ อาจจะมีการปรับระดับพวงมาลัยไม่เหมาะสม สูงไป ต่ำไป หรือ ชิดตัวมากเกินไป ก็จะทำให้ตำแหน่งแขนของคนขับไม่ถูกต้องถึงแม้จะสบายในช่วงต้นก็ตาม

มัดกล้ามเนื้อของร่างกายเราแต่ละจุดจะเป็นจุดที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ถ้าเริ่มปวดๆ ตึงๆ จากจุดใดจุดหนึ่งก็อาจจะรามไปปวดที่บริเวณใกล้เคียงได้ด้วย เช่น ขับทางไกลช่วงแรกอาจจะปวดก้น ผ่านไปสักระยะเราก็จะเริ่มปวดเอวและหลัง หรือ ขับนานๆ แล้วปวดคอก็อาจจะลามมาถึงไหล่ได้ เป็นต้น

ขับรถแล้วปวดตา

ขับรถแล้วปวดตา ทำยังไงดี?

หากมีอาการปวดตาจากการขับรถ นอกจากจะล้าบริเวณตาของเราแล้วก็ยังส่งผลให้เรารู้สึกเมื่อยใบหน้าได้ด้วย เนื่องจากเรามีการใช้กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาเยอะ บางครั้งเราเลยมีการหยีตา หรี่ตาเอง เพ่งสายตาเอง จนเกร็งกล้ามเนื้อใบหน้าโดยไม่รู้ตัว 

แนะนำว่าเมื่อเราจอดติดไฟแดงหรือรถติดให้หาเวลามองไปด้านนอกตัวรถ มองไปรอบๆ มองที่ต้นไม้จะดีที่สุด เพราะสีเขียวจะทำให้ดวงตาของเรารู้สึกผ่อนคลาย การมองรอบๆ จะเป็นการปรับสายตาของเราทำให้เรารู้สึกสบายตามากขึ้น

นอกจานี้ยังควรมีแว่นกันแดดที่สามารถตัดแสงสะท้อนได้ดีด้วย เพราะการใส่เเว่นกันแดดจะช่วยปรับสภาพแสงให้เหมาะสมกับสายตามากขึ้น ทำให้เรารู้สึกผ่อคลายสายตาได้ดี ลดอาการเมื่อล้าสายตา นอกจากนี้ผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวก็ควรใส่แว่นในขณะขับรถเพื่อลดอาหารเพ่งสายตาด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : 3 วิธีแก้ "เมื่อแสงแดดแยงตาเวลาขับรถ"

ขับรถแล้วปวดไหล่ ปวดคอ แก้ยังไง

ขับรถแล้วปวดคอกับไหล่ ทำยังไงดี?

เมื่อเราต้องขับรถและใช้สายตามองเส้นทางนานๆ สิ่งที่ตามมาคือเราจะมีการใช้งานคอที่เยอะมาก เพราะต้องตั้งคอตรงและมองเส้นทางตลอดเวลาโดยไม่ได้หันหน้าหรือเอนคอ สิ่งที่ตามมาคืออาการปวดคอจากการเกร็งกล้ามเนื้อคอแบบไม่รู้ตัว อาการนี้ยังรวมไปถึงส่วนไหล่ด้วยเพราะเป็นล้ามเนื้อมัดที่สัมพันธุ์กัน 

เราจึงควรบริหารต้นคอบ่อยๆ ในขณะที่จอดติดไฟแดง เช่น การหมุนคอ หรือ หันไปทางซ้ายแบบสุดๆ หรือ ขวาแบบสุดๆ เงยหน้ามองเพดานรถค้างไว้สองสามวินาที และ ก้มลงมองพื้นสักสองสามวินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนคอยืดและคลายตัว

ควรปรับตำแหน่งพวงมาลัยให้เหมาะสมเพื่อลดการใช้กล้ามเนื้อแขนในการประคองรถเยอะๆ โดยตำแหน่งต้องไม่ชิดตัวจนแขนพับ ไม่ห่างจนแขนเหยียดตึง ไม่สูงหรือต่ำไปจนเราต้องยืดแขนตึง ปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่สบายที่สุดและไม่รู้สึกตึงกล้ามเนื้อตอนขับจะลดอาการเมื่อยล้าได้ดี

ขับรถแล้วปวดขา

ขับรถแล้วปวดขา ทำยังไงดี?

อาการปวดขามักจะเกิดขึ้นกับขาขวามากกว่า เนื่องจากเราต้องมีการเหยียบคันเร่งอยู่ตลอดเวลา บางคนมีอาการปวดข้อเท้าเพิ่มเติมด้วย นอกจากอาการนี้จะเกิดจากการเหยียบครัชต์ หรือ คันเร่ง นานๆ แล้ว มันยังเกิดขึ้นได้จากตำแหน่งเบาะที่ไม่เหมาะสมด้วย

ตำแหน่งที่นั่งส่วนใหญ่จะสามารถปรับได้ 4 ทาง คือ หน้า หลัง สูงขึ้น และ ต่ำลง การปรับเบาะต่ำจะทำให้ขาของเราชันขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการเหยียบเบรกและคันเร่งจะต้องใช้แรงข้อเท้าเพิ่มขึ้น และมัดกล้ามเนื้อจะตึงและดึงกัน ทำให้เราปวดขาและปวดข้อเท้าได้ง่าย

การปรับเบาะสูงๆ ถึงแม้จะทำให้เราลงน้ำหนักเท้าในการเหยียบแป้นต่างๆ ได้ดีขึ้นก็จริง แต่บริเวณต้นขาจะไปกดทับกับขอบเบาะได้ง่าย ทำให้เรารู้สึกปวดต้นขาตามมา

การปรับตำแหน่งเบาะที่ถูกต้องคือควรปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่วางขาได้สบาย ไม่ชันจนเกินไป ไม่ตึงจนเกินไป และต้องมีการปรับระยะห่างจากแป้นเหยียบให้เหมาะสม ก็จะทำให้เรานั่งขับรถได้สบายและขับได้นานขึ้น

นอกจากนี้เรายังควรจอดพักเพื่อยืดเส้นยืดสาย คลายกล้ามเนื้อที่มีอาการหดเกร็งโดยไม่รู้ตัวให้คล้ายตัวและมีความยืดหยุ่น ในขณะทีติดไฟแดงเราอาจจะใส่เกียร์จอดแล้วมีการจิกปลายเท้าแล้วหมุนข้อเท้าเพื่อบริหารท้อเท้าเราด้วย

ขับรถแล้วปวดหลัง

ขับรถแล้วปวดหลัง ทำยังไง?

อาการปวดหลังขณะขับรถเป็นผลมาจากการปรับเอนเบาะโดยตรง ซึ่งบางครั้งตำแหน่งที่เราเอนอาจจะสบายก็จริง แต่นั่นอาจจะสบายแค่ตอนขับในเมืองหรือระยะทางสั้นๆ ขับทางไกลอาจจะปวดหลังได้ ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือให้เราปรับเบาะตั้งตรงก่อน หลังจากนั้นให้เอนไปด้านหลังนิดหน่อย นั่นคือตำแหน่งที่ดีที่สุดสำหรับการขับทางไกล 

แต่ถ้าหากว่าขับไปเเล้วรู้สึกเริ่มเมื่อยเราก็ค่อยๆ ลองปรับเอนทีละนิดขณะที่จอดติดไฟแดง เพื่อให้มัดกล้ามเนื้อปรับตัวและคลายตัว ก็จะช่วยลดอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ผ่อนคลายมากขึ้นด้วย

พวงมาลัยสั่นทำให้ปวดเเขนกับไหล่ได้

ขับรถแล้วพวงมาลัยสั่นทำให้เราเมื่อยได้ง่าย

สิ่งนี้เป็นผลกระทบทางอ้อมที่ทำให้เรารู้สึกมีอาการปวดคอ ปวดไหล่ และ ปวดหลัง ได้ เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนบนถนนจะส่งผ่านเพลามาที่พวงมาลัยซึ่งมีเราเป็นผู้ประคองรถในการขับขี่ แรงสั่นสะเทือนนั้นก็จะส่งผ่านจากพวงมาลัยมาที่มือ แขน ไหล่ คอ และ หลัง ด้วย

วิธีการแก้อาารปวดจากสาเหตุนี้คือ เราต้องนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบสภาพยางว่าถึงระยะที่ต้องเปลี่ยนแล้วหรือไม่ ยางที่เสื่อมสภาพจะทำให้ขับแล้วรู้สึกว่าพวงมาลัยสั่นได้ 

นอกจากนี้แล้วก็ยังต้องเช็คสภาพล้อรถยนต์ด้วยว่ามีการถ่วงล้อดีแล้วหรือไม่ มีล้อคดล้อเบี้ยวหรือเปล่า เพราะถ้าหากไม่มีการถ่วงล้อหรือล้อคด เมื่อเราวิ่งถึงความเร็วในจุดๆ หนึ่ง ล้อจะมีอาการเหวี่ยงและสั่นเพราะล้อไม่มีความสมดุล ส่งผลให้พวงมาลัยสั่น เป็นผลให้เราปวดแขนกับไหล่ได้นั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : พวงมาลัยสั่น สาเหตุจากอะไร? 

ขับรถแล้วง่วง

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com



Pakkawat Unchalee

Pakkawat Unchalee

Content Writer

เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนแห่งวงการจักรยานระดับไฮเอนด์ สู่การเป็นนักเขียนของเว็บไซต์รถยนต์มือสองอันดับหนึ่งอย่าง one2car ถึงแม้จะมีความถนัดเรื่องจักรยานระดับไฮเอนด์เป็นพิเศษ แต่เรื่องรถยนต์ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน หวังว่าทุกท่านจะเพลิดเพลินไปกับบทความที่ถูกเขียนโดยการจิ้มแป้นพิมพ์ของผมครับ


ข่าวฟีเจอร์

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

เรื่องเด่น
เจาะแนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า EV จะกลายเป็นรถยนต์แห่งอนาคตจริงหรือไม่ ? ปฏิวัติการขนส่งได้อย่างไร เคลียร์ความสงสัยได้ในบทความนี้ผ่าแนวโน้มอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า ...
ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

เรื่องเด่น
เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากำลังกลายเป็นกระแสหลักในประเทศไทย ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายพร้อมออปชั่นล้นๆ ก็ทำให้เกิดคำถามว่า ...
ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

เรื่องเด่น
มาแล้ว! ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ใครยังไม่มีฤกษ์รับรถ รีบเข้ามา! ซินแสดูให้จริง อยากรู้เกิดวันนี้ควรออกรถวันเวลาไหนก็ย่อมได้ฤกษ์รับรถเดือนเมษายน ...

เเสดงความคิดเห็น

app-icon
app-icon
app-icon
ดูรถในฝันของคุณในแอป
ดาวน์โหลดแอปตอนนี้