One2car.com
แอปพลิเคชัน One2Car
ทำนายราคารถของคุณ
4.5
21,133

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคา? ทำยังไง (ตั้งแต่ต้นจนจบ)

เรื่องเด่น

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคา? ทำยังไง (ตั้งแต่ต้นจนจบ)

คนที่อยากซื้อรถ EV น่าจะมีคำถามว่าซื้อรถไฟฟ้า EV ต้องเตรียมอะไรบ้าง หนึ่งในนั้นที่ขาดไม่ได้ก็คือการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ซึ่งขั้นตอนจะเริ่มตั้งแต่การขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า การติดตั้งระบบไฟฟ้าและเดินสายเมนใหม่เพื่อรองรับ EV Chager โดยทั้งหมดนี้มีค่าใช้จ่าย อยากรู้ว่าแต่ละขั้นตอนมีราคาเท่าไร และดำเนินการอย่างไร ตามเรามาเลย

รถยนต์ไฟฟ้าชาร์จไฟบ้านได้ไหม

รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จกับไฟบ้านได้หากมิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาด 30(100)A 1P 2W หรือ 15(45)A 3P 4W ขึ้นไป และจำเป็นต้องติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV Charger ที่บ้านด้วย

ติด EV Charger เตรียมไฟบ้านยังไง ต้องติดตั้งอะไรบ้าง

  1. ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าว่าบ้านของเราใช้ขนาดเท่าไร โดยดูตรงคำว่า Phase ที่มิเตอร์ไฟฟ้า

  2. หากเป็น Single-Phase 15(45)A ถือว่าไม่เพียงพอต่อการติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ต้องทำเรื่องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เป็น 30(100)A 1P 2W หรือ 15(45)A 3P 4W ที่ กฟน. (MEA) หรือ กฟภ. (PEA) แต่ถ้าไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมภายในบ้านได้ ก็ต้องขอติดตั้งมิเตอร์ลูกที่ 2 

  3. ติดต่อช่างเทคนิคเพื่อประเมินโหลดไฟว่าเหมาะสมหรือไม่

  4. เตรียมช่องว่างในตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) สำหรับติดตั้ง Miniature Circuit Breaker (MCB) เพื่อแยกช่องจ่ายไฟต่างหาก และต้องรองรับกระแสไฟได้สูงสุดไม่เกิน 100 แอมป์สำหรับ 30(100)A

  5. เช็กและเปลี่ยนขนาดสายไฟเมนเป็นขนาด 25 ตารางมิลลิเมตร

  6. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (RDC) เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟไหม้ กรณีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน

  7. ติดตั้งเต้ารับ EV Charger แบบ 3 รู และใช้หลักดิน (สายดิน) ใหม่ที่แยกจากหลักดินของระบบไฟฟ้าบ้าน โดยสายต่อหลักดินจะต้องมีฉนวนหุ้ม ขนาดไม่ต่ำกว่า 10 ตารางมิลลิเมตร ส่วนหลักดินควรมีขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 2.4 เมตร และต้องใช้ความร้อนเชื่อมระหว่างสายดินกับหลักดินเข้าด้วยกัน

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน มีค่าใช้จ่ายเท่าไร

สำหรับค่าติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน หรือ EV Charger มีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ 3 อย่าง ได้แก่

1. ค่าเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger)

ราคาของ EV Charger ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและขนาดของกำลังไฟที่ปล่อยออกมา มีตั้งแต่ 3.7 kW, 7.4 kW, 11kW และ 22 kW เริ่มต้นที่ 15,000-100,000 กว่าบาท แต่รถยนต์ไฟฟ้าบางยี่ห้อก็แถมให้ฟรี!

2. ค่าเพิ่มขนาดมิเตอร์ / ค่าขอมิเตอร์ลูกที่ 2

พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ

สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ หากต้องการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จะต้องติดต่อการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ซึ่งจะมีค่าตรวจสอบในการขอเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้าตั้งแต่ 700-2,500 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ที่เราขอ) ถ้าอยากได้ค่าไฟแบบอัตรา TOU* จะคิดเพิ่มอีกประมาณ 6,640 - 7,350 บาท

พื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ

สำหรับพื้นที่นอกเหนือกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ คุณต้องติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เพื่อขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 700-1,500 บาท แต่ถ้าไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าเดิมภายในบ้านได้ ก็ต้องทำเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าลูกที่ 2 แทน และถ้าอยากได้มิเตอร์ที่คิดค่าไฟแบบอัตรา TOU ต้องจ่ายเพิ่มอีกประมาณ 3,740 - 5,340 บาท (ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์)

*อัตรา TOU (Time of Use Tariff) คือ อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

  • Peak (09:00-22:00 น. จันทร์-ศุกร์ และวันพืชมงคล)

  • Off-Peak (22:00-09:00 น.จันทร์-ศุกร์ วันพืชมงคล และ 00:00-24:00น. เสาร์-อาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ และวันพืชมงคลที่ตรงกับเสาร์-อาทิตย์) โดยช่วง Off-Peak จะคิดค่าไฟในอัตราที่ลดลง

3. ค่าเดินสายเมนที่ 2 ค่าติดตั้งอุปกรณ์ และวางระบบไฟใหม่ เพื่อรองรับ EV Charger

สำหรับค่าเดินสายไฟและติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อรองรับ EV Charger คุณสามารถเลือกผู้ให้บริการเองได้ตามความพึงพอใจ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้รับติดตั้ง EV Charger มากมาย ราคาเริ่มตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป จะเลือกผู้ให้บริการจากการไฟฟ้าก็ได้เช่นกัน อย่าง KEN by MEA ส่วน PEA ยังไม่มีบริการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน มีเพียงแค่ให้บริการเพิ่มมิเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน

ที่มารูปภาพ: กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

การติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

สำหรับการขอเพิ่มมิเตอร์ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟเดิมภายในบ้านได้แล้ว จะต้องทำเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์เพิ่มอีก 1 ตัว เป็น 2 ตัว แต่ไม่จำเป็นต้องมีขนาดและเป็นประเภทเดียวกันกับมิเตอร์แรก และจะมีการเดินสายเมนที่ 2 จากมิเตอร์ลูกใหม่ไปถึงจุดติดตั้ง EV Charger โดยตรง แยกจากมิเตอร์ลูกแรก

ค่าติดตั้งมิเตอร์ใหม่ของ PEA สำหรับชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ราคาเท่าไร

  • ค่าตรวจสอบการติดตั้งการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 700 บาท (สำหรับมิเตอร์ขนาด 15(45)A 1-Phase, 30(100)A 1-Phase, 15(45)A 3-Phase) 1,500 บาท (สำหรับมิเตอร์ขนาด 30(100)A 3-Phase)

  • ค่าติดตั้งมิเตอร์แบบอัตรา TOU* ราคา 3,740 บาท (สำหรับมิเตอร์ขนาด 15(45)A 1-Phase, 30(100)A 1-Phase) และ 5,340 บาท (สำหรับมิเตอร์ขนาด 15(45)A 3-Phase, 30(100)A 3-Phase)

วิธีทำเรื่องขอเพิ่มมิเตอร์สำหรับติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

ขั้นตอนดำเนินการขอเพิ่มมิเตอร์ลูกที่ 2 จาก PEA มีดังนี้

1. ยื่นเอกสารและชำระเงินที่ PEA 

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (Passport) กรณีผู้ขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่สองเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย (ชาวต่างประเทศ)

  • ทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนอาคารของสถานที่ที่ขอติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่สอง

  • เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า

  • กรณีไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า จะต้องมีหนังสือยินยอมให้มีการติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่สองจากเจ้าของกรรมสิทธิ

  • รายละเอียดทางเทคนิคอุปกรณ์ (Specification) หรือ Data Sheet ของเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์ไฟฟ้าที่แสดงรายละเอียดข้อมูลทั่วไปและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ

  • อื่น ๆ (ถ้ามี)

2. นัดวันตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า

  • สถานที่ใช้ไฟต้องมีการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในแยกระหว่างมิเตอร์เครื่องที่ 1 และมิเตอร์เครื่องที่ 2 โดยเด็ดขาด

  • มีการติดตั้งเครื่องชาร์จรถ EV หรือเต้ารับสำหรับการชาร์จรถ โดยเต้ารับไม่ใช่ชนิดหยิบยกได้

3. PEA ติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่สอง

เมื่อผ่านการตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟของ PEA แล้ว จะดำเนินการติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่สอง ภายใน 2-5 วันทำการ

หมายเหตุ

ผู้รับเหมาติดตั้ง EV Charger ต้องติดเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านให้เรียบร้อยก่อน พร้อมโยงสายไฟเพื่อที่จะรอเชื่อมต่อที่มิเตอร์ หลังจากนั้น PEA จึงจะเข้าดำเนินการติดตั้งมิเตอร์เครื่องที่ 2 หรือเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้

ติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA Call Center 1129
 

ติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน pea

การติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้านครหลวง (MEA)

สำหรับการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ MEA จะเป็นการขอเปลี่ยนมิเตอร์เดิมของเราให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเราจะมีมิเตอร์ 1 ตัวเหมือนเดิม และต้องมีการเดินระบบไฟฟ้าวงจร 2 (ติดตั้งสายเมนวงจรที่ 2)

ค่าเพิ่มขนาดมิเตอร์สำหรับติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน MEA ราคาเท่าไร

1. ค่าตรวจสอบการติดตั้งการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 700 บาท

  • 15(15)A 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย

  • 15(45)A 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย

  • 30(100)A 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย

  • 50(150)A 230 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย

  • 15(45)A 230/400 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 1,500 บาท

  • 30(100)A 230/400 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

  • 50(150)A 230/400 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

3. ค่าตรวจสอบการติดตั้งการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน 2,500 บาท

  • 200A 230/600 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

  • 400A 230/400 โวลต์ 3 เฟส 4 สาย

ทำเรื่องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า MEA ผ่านออนไลน์ได้ที่ ขอใช้ไฟฟ้า EV บ้านอยู่อาศัย (EV Home Charger)

ติดต่อการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130

กรณีเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าโดยเลือกคิดเป็นอัตรา TOU

หากเลือกเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าโดยเลือกคิดเป็นอัตรา TOU จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

  • ขนาดเครื่องวัดเป็นแรงต่ำ คิดราคา 6,640 บาท

  • ขนาดเครื่องวัดเป็นแรงสูง คิดราคา 7,350 บาท

เพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าอัตรา TOU : MEA

ค่าออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้ารองรับที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน KEN by MEA

หากเลือกใช้บริการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าของ KEN by MEA จะคิดราคา 29,000 บาท (7.4 kW EV Charger) และ 46,000 บาท (22 kW 3Phase EV Charger) ซึ่งเป็นค่าต่าง ๆ ตามรายการดังนี้

  • ค่าติดตั้งสายเมนที่ 2 ระยะ 20 เมตร

  • ค่าอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหลัก Main CB 40A

  • ค่าอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว RCD Type B 40A

  • ค่าระบบสายดิน

ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) MEA

ที่มารูปภาพ: การไฟฟ้านครหลวง

เอกสารยื่นขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ ที่ กฟน. (MEA)

กรณีเป็นบุคคลทั่วไป

  • สำเนาบัตรประชาชน

  • สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอติดตั้ง

  • เอกสารแสดงสิทฑิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า หรือหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ขอใช้ไฟฟ้า

  • บิลค่าไฟ

  • สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อ (กรณีเคยเปลี่ยนชื่อ)

  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ (กรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง)

  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า

กรณีเป็นนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 6 เดือน (นับถึงวันที่ยื่นใช้บริการ)

  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ

  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า

  • เอกสารแสดงสิทฑิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญาเช่าสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า หรือหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ขอใช้ไฟฟ้า

  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ พร้อมกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัทฯ (กรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง)

  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า


อ่านเพิ่มเติม: รวมรถยนต์ไฟฟ้า EV มือสอง ราคาถูก น่าซื้อที่สุด

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ต้องที่ ตลาดรถมือสอง one2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน

อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ได้ที่ Autospinn.com



Chuenkamon Phasuk

Chuenkamon Phasuk

SEO Executive

Content Creator ที่คลุกคลีอยู่ในวงการ Digital Marketing ผู้มาพร้อมสกิล ‘เล่าเรื่องยากให้เข้าใจง่าย’ เพื่อสร้างสรรค์และผลักดันคอนเทนต์ให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวดี ๆ ในวงการยานยนต์


ข่าวฟีเจอร์

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

เรื่องเด่น
เจาะแนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า EV จะกลายเป็นรถยนต์แห่งอนาคตจริงหรือไม่ ? ปฏิวัติการขนส่งได้อย่างไร เคลียร์ความสงสัยได้ในบทความนี้ผ่าแนวโน้มอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า ...
ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

เรื่องเด่น
เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากำลังกลายเป็นกระแสหลักในประเทศไทย ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายพร้อมออปชั่นล้นๆ ก็ทำให้เกิดคำถามว่า ...
ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

เรื่องเด่น
มาแล้ว! ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ใครยังไม่มีฤกษ์รับรถ รีบเข้ามา! ซินแสดูให้จริง อยากรู้เกิดวันนี้ควรออกรถวันเวลาไหนก็ย่อมได้ฤกษ์รับรถเดือนเมษายน ...

เเสดงความคิดเห็น

app-icon
app-icon
app-icon
ดูรถในฝันของคุณในแอป
ดาวน์โหลดแอปตอนนี้