One2car.com
แอปพลิเคชัน One2Car
ทำนายราคารถของคุณ
4.5
21,133

รวมไว้แล้ว! 12 ข้อควรรู้ “มารยาทในการขับรถ” เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน

เรื่องเด่น

รวมไว้แล้ว! 12 ข้อควรรู้ “มารยาทในการขับรถ” เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน

มารยาทในการขับรถ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรตระหนักเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับ จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เบื้องต้น หรือคนที่มีประสบการณ์อยู่แล้วก็ไม่ควรละเลยเพื่อความปลอดภัยและลดปัญหาการจราจรได้เป็นอย่างดี วันนี้ One2Car มี 12 มารยาทในการขับรถที่คนรักรถต้องรู้ มาฝากกัน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาอ่านกันได้เลย

 

1. ไม่ขับรถเร็วเมื่ออยู่ในเมืองหรือชุมชน

สิ่งสำคัญในการขับรถในทางเดินรถที่อยู่ในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เขตเทศบาล หรือเขตชุมชน ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงคมนาคม กำหนดอัตราความเร็วในการขับรถเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 โดยกฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 240 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่น กฎหมายจราจรรถยนต์ กฎหมายจราจรมอเตอร์ไซค์ และรถประเภทอื่นๆ ที่ต้องใช้อัตราความเร็วไม่เกินกำหนด ดังต่อไปนี้

  1. รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  2. รถขณะที่ลากจูงรถอื่นรถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  3. รถจักรยานยนต์ ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ขนาด 400 ซีซีขึ้นไป ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  4. รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  5. รถแทรกเตอร์ รถบดถนน หรือรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนรถประเภทอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมด ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การขับรถในเส้นทางนอกเขตเมืองหรือเขตชุมชน

ส่วนการขับรถในเส้นทางนอกเขตเมืองหรือเขตชุมชน กฎหมายจราจรให้ใช้อัตราความเร็ว ดังต่อไปนี้ 

  1. รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสารที่มีที่นั่งคนโดยสารเกิน 15 คน ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  2. รถขณะที่ลากจูงรถอื่นรถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ความเร็วไม่เกิน 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  3. รถจักรยานยนต์ ความเร็วไม่เกิน 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ขนาด 400 ซีซีขึ้นไป ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  4. รถโรงเรียน หรือรถรับส่งนักเรียน ใช้ความเร็วไม่เกิน 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
  5. รถแทรกเตอร์รถบดถนน หรือรถใช้งานเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ความเร็วไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนรถประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมด ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ หากผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีโทษปรับตั้งแต่ 200-1,000 บาท  โดยค่าปรับเรตนี้จะใช้พร้อมกับใบสั่งแบบใหม่ นั่นคือ มีการระบุข้อหาลงในใบสั่งและสามารถชำระค่าปรับในพื้นที่ใดก็ได้ตามที่คุณสะดวก  ที่สำคัญ ในปัจจุบัน ทางการมีที่ตรวจจับความเร็วอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น เราควรขับรถให้เป็นไปตามกฎจราจรจะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง หรือผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน และจะได้ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับอีกด้วย

2. ไม่เปลี่ยนเลนตัดหน้าคันอื่นกะทันหัน

ในการขับรถไม่ว่าจะอยู่ในความเร็วระดับใดก็ตาม อย่าเปลี่ยนเลนตัดหน้าคันอื่นกะทันหันโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผู้ขับขี่คันอื่นๆ ต้องหักพวงมาลัยกะทันหันและกระทืบเบรค อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ หรือหากหากเราขับขี่เปลี่ยนเลนหรือเปลี่ยนช่องจราจรในระยะกระชั้นชิดโดยไม่ให้สัญญาณไฟ จะเข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ฉะนั้น วิธีการขับที่ถูกต้อง ผู้ขับรถควรลดเตรียมลดความเร็วและให้สัญญาณเตือนด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณก่อนเปลี่ยนเลนหรือช่องจราจร  ในระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร

3. ไม่หยุดหรือจอดรถบนทางด่วน

การหยุดหรือจอดรถบนทางด่วน นอกจากจะอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนแล้ว ยังเป็นการกระทำผิดกฎหมายจราจร เนื่องจากรถที่ขับเข้ามาอาจชนท้ายรถของผู้ใช้รถคนอื่นๆ ได้ ขณะเดียวกัน การจอดรถบนไหล่ทางด้านหน้าด่านชำระเงินค่าทางด่วน หรือจุดใดก็ตามเพื่อรอให้ถึงเวลาใช้ส่วนลดของบัตร ETC ไม่เพียงแค่ถูกปรับตามกฎหมายเท่านั้น ยังเป็นอันตรายต่อรถคันอื่นๆ อีกด้วย ฉะนั้น หากต้องการพักจริงๆ ควรจอดรถบริเวณจุดบริการหรือจุดพักรถที่ใกล้ที่สุด ยกเว้นในกรณีที่ไม่อนุญาตให้จอดรถบนทางด่วน เช่น หยุดจอดรถชั่วคราวเพื่อป้องกันการเกิดเหตุร้ายแรง จอดรถบนไหล่ทางหรือขอบถนนที่มีความกว้างไม่มากพอเมื่อรถเสียหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือจอดรถเพื่อเสียค่าผ่านด่าน หากไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กล่าวมาและฝ่าฝืนต้องเสียค่าปรับภายใต้กฎจราจร

4. ไม่ขับรถบนไหล่ทาง

โดยทั่วไปแล้ว ไหล่ทางไม่ได้มีไว้ใช้ขับขี่เข้าไปไม่ว่าจะเป็นกรณีเร่งด่วนหรือไม่ก็ตาม ยิ่งเป็นการจอดรถบนไหล่ทาง ควรทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น เช่น หยุดรถชั่วคราวจากอุบัติเหตุหรือรถเสีย หรือรถตำรวจ รถพยาบาล หรือรถฉุกเฉินจอดประจำที่เพื่อเตรียมวิ่งในกรณีฉุกเฉิน แต่ส่วนใหญ่มักจะมีรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับขี่แซงรถคันอื่นๆ โดยใช้ไหลทาง ซึงนอกจากเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุแล้ว ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจราจร ฉะนั้น ผู้ใช้รถไม่ควรขับรถบนไหล่ทาง หรือหากจำเป็นต้องจอดบนไหล่ทาง ควรเปิดไฟฉุกเฉิน พร้อมตั้งป้ายเตือนฉุกเฉินก่อนถึงตัวรถในระยะที่รถคันอื่นๆ มองเห็นชัดเจน จากนั้นเข้าเกียร์ว่าง ขึ้นเบรกมือเหมือนจอดรถปกติ หากต้องนั่งรอในรถควรรัดเข็มขัดนิรภัย แต่ถ้ายืนรอนอกรถ ควรทิ้งระยะห่างจากตัวรถเพื่อความปลอดภัย

5. ระวังการเปิดไฟสูงเมื่อมีรถสวนทาง

เมื่อเราขับรถในยามค่ำคืนและเป็นทางที่ไม่มีไฟส่องทาง ส่วนใหญ่มักจะเปิดไฟสูงเพื่อความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม หากเปิดไฟสูงเมื่อมีรถสวนทาง หรือขับตามรถคันอื่นเพื่อไล่รถคันหน้า ไฟอาจส่องเข้าตาจนมองไม่เห็นถนน หรืออาจตกใจขับเปลี่ยนเลนหรือเร่งเครื่องหนีซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ การใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท ควรเปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมากและไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา หลังจากนั้นให้ปิดไฟสูงทันทีที่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา

6. ไม่ขับรถแช่เลนขวา

เมื่อเราขับรถตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด แต่หลายๆ ครั้งมักเจอปัญหาการจราจรติดขัด หรือเคลื่อนตัวช้า สาเหตุหนึ่งมาจากการขับรถแช่เลนขวาทำความเร็วคงที่ ทำให้รถด้านหลังที่ขับมาด้ยความเร็วสูงไม่สามารถไปต่อได้ ยิ่งถ้ามีรถมาจ่อท้ายอย่างกระชั้นชิด นั่นหมายถึงคุณขับรถช้าเกินไปแล้ว เพราะฉะนั้น ตามมารยาทในการขับรถ คุณต้องเปิดไฟเลี้ยวซ้าย มองหลังให้ดี แล้วค่อยๆ หลบให้ทางกับรถที่มาจากข้างหลังวิ่งแซงขึ้นไปได้อย่างปลอดภัย 

7. ไม่ควรขับจี้ท้ายรถคันหน้าหรือทิ้งระยะห่างจนเกินไป

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนในบ้านเรา บ่อยครั้งมักเกิดจากความประมาท โดยเฉพาะอุบัติเหตุรถชนท้ายที่เกิดขึ้นหลายๆ คัน บางเหตุการณ์เกิดการชนท้ายกันนับสิบคัน หรือในชุมชนเมือง การขับรถทิ้งระยะห่างระหว่างคันหน้าเกินไป อาจทำให้คันหลังขับต่อไปไม่ได้และต้องติดไฟแดงอีกครั้งจนต้องเสียเวลา หรือบางคนเสียสุขภาพจิตถึงขั้นมีเรื่องกระทบกระทั่งกันบนท้องถนนได้เลย ฉะนั้น การขับรถตามหลังควรเว้นระยะห่างจากคันหน้าให้เพียงพอที่จะหยุดได้อย่างปลอดภัยเมื่อรถคันหน้ามีอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินจนรถหยุดกระทันหัน แต่ขณะเดียวกันก็ควรขับรถโดยไม่ทิ้งระยะห่างมากเกินไป เพื่อให้รถคันอื่นๆ เดินทางต่อได้อย่างไม่มีปัญหา

8. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งก่อนเปลี่ยนเลน

เมื่อจะเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนเลน ควรเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวก่อนทุกครั้งประมาณ 30 เมตร เพื่อให้รถคันอื่นเห็นสัญญาณไฟในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร เปิดสัญญาณไฟให้รถคันหลังที่ตามมาได้รู้ นอกจากนี้ ในการขับรถหลายคนอาจจะเคยชิน เช่น การขับรถเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อเห็นป้าย “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ควรหยุดรอให้คนข้ามถนนและรถที่มาจากทางด้านขวามือขับผ่านไปก่อน จึงจะเลี้ยวซ้ายผ่านไป
แต่ถ้าไม่มีป้ายติดไว้แล้วเลี้ยวผ่านไปจะถือว่าผิดกฎจราจร เพราะการเลี้ยวทางแยกต่าง ๆ ต้องรอสัญญาณไฟเขียวเท่านั้นถึงจะเลี้ยวซ้ายได้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

9. ชะลอรถทุกครั้งก่อนถึงทางม้าลาย

เมื่อเห็นคนยืนบนทางเท้า และมีการแสดงท่าทีที่จะเดินข้ามถนนตรงทางม้าลาย ผู้ขับรถควรแตะเบรกเตือนหรือเปิดไฟขอทาง เพื่อให้รถคันหลังเห็นสัญญาณไฟ และรู้ว่าคุณกำลังหยุดรถตรงทางม้าลาย เมื่อคนข้ามถนนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงค่อยออกตัวรถ และขับต่อไป

10. ไม่เปิดไฟตัดหมอกโดยไม่จำเป็น

การเปิดไฟตัดหมอกช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถขับรถได้ปลอดภัยขึ้น เห็นเส้นทางและมีทัศนวิสัยชัดเจนขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรเปิดพร่ำเพรื่อเพราะอาจผิดกฎจราจรได้ โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2536) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ระบุไว้ว่า การเปิดไฟตัดหมอกสามารถเปิดใช้ได้ในกรณีมีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรคที่อาจทำให้เกิดอันตรายในการขับขี่ รวมถึงเปิดใช้เมื่อไม่มีรถอยู่ในระยะด้านหน้าหรือรถสวนมาเท่านั้น ดังนั้น การเปืดไฟตัดหมอก ควรเปืดใช้งานในกรณีต่างๆ ได้แก่ 

  1. มีสภาพฝนตกหนักทั้งกลางวันและกลางคืน
  2. เปิดใช้งานหลังฝนตกหนักเพื่อลดปัญหาแสงไฟสะท้อนน้ำบนพื้นถนนหลังฝนตก
  3. หากเปิดในตอนกลางคืนที่มีแสงน้อยหรือถนนที่ไม่มีไฟข้างทางหากมีรถสวนมาในเลนฝั่งตรงข้าม ต้องปิดไฟตัดหมอกเพื่อป้องกันแสงไฟรบกวนผู้อื่น
  4. เปิดไฟตัดหมอกเมื่อขึ้น-ลงเนินเขา หรือในกรณีหมอกลงจัด หรือมีฝุ่นควันหนาจนบดบังทัศนวิสัยการขับรถ

11. ไม่ใส่เบรกมือเมื่อจอดรถซ้อนคัน

เมื่อจอดรถซ้อนคัน สิ่งสำคัญที่ต้องท่องจำไว้ขึ้นคือ ห้ามยกเบรกมือขึ้นโดยเด็ดขาด เมื่อไรก็ตามที่ยกเบรกมือขึ้น รถคันอื่นที่ต้องการออกจากที่จอดรถจะไม่สามารถเลื่อนรถที่ซ้อนคันอยู่ออกไปได้ ดังนั้น ผู้ใช้รถควรเข้าเกียร์ว่างแล้วปลดเบรกมือให้เรียบร้อยก่อนลงจากรถเพื่อความสะดวกของผู้ใช้รถคนอื่นๆ

12. ไม่จอดรถในพื้นที่ห้ามจอด หรือที่ที่ตัวเองไม่ควรจอด เช่น ที่จอดรถคนพิการ หรือจุดชาร์จไฟฟ้า

ปัญหาจอดรถในพื้นที่ห้ามจอด หรือพื้นที่ที่ตัวเองไม่ควรจอด เช่น หน้าบ้านพักอาศัยผู้อื่น หน้าอาคารพาณิชย์ ที่จอดรถคนพิการ หรือจุดชาร์จไฟฟ้า เป็นปัญหาเรารู้ดีว่าไม่สมควรจอดรถแต่หลายๆ คนมักละเลยหรือไม่สนใจ โดยอ้างว่าไม่มีที่จอด หรือใครๆ ก็ทำกัน ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม แม้การจอดรถพื้นที่จอดรถคนพิการ คนชรา หรือจุดชาร์จไฟฟ้า จะไม่ผิดกฎหมาย แต่ด้วยสามัญสำนึกของคนทั่วไปก็ไม่ควรมักง่าย เห็นพื้นที่จอดรถคนพิการ คนชรา หรือจุดชาร์จไฟฟ้าที่ว่าง ก็ตีเนียนนำรถเข้าไปจอด ฉะนั้น ควรเเจ้งเจ้าหน้าที่อาคารสถานที่ เพื่อย้ายรถคันดังกล่าวออกจากจุดดังกล่าวทันที

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมารยาทในการขับรถบนท้องถนนที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณและเพื่อนร่วมทาง ลดปัญหาจราจรและอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ 

ค้นหารถมือสองทุกรุ่น ทุกแบบ ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ดูรายละเอียด และราคารถมือสองได้ที่ ตลาดรถมือสอง One2car
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn

 



Suttinun Poomkung

Suttinun Poomkung

Content Writer

จากนักเขียนครีเอทีฟคอนเทนต์ทุกเรื่องบนโลก สู่นักเขียนคอนเทนต์รถคลาสสิกและรถมือสอง พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวของวงการยานยนต์ ให้เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย ไว้ใจได้เลยว่าได้ข้อมูลตรงใจแน่นอน


ข่าวฟีเจอร์

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

เรื่องเด่น
เจาะแนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า EV จะกลายเป็นรถยนต์แห่งอนาคตจริงหรือไม่ ? ปฏิวัติการขนส่งได้อย่างไร เคลียร์ความสงสัยได้ในบทความนี้ผ่าแนวโน้มอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า ...
ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

เรื่องเด่น
เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากำลังกลายเป็นกระแสหลักในประเทศไทย ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายพร้อมออปชั่นล้นๆ ก็ทำให้เกิดคำถามว่า ...
ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

เรื่องเด่น
มาแล้ว! ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ใครยังไม่มีฤกษ์รับรถ รีบเข้ามา! ซินแสดูให้จริง อยากรู้เกิดวันนี้ควรออกรถวันเวลาไหนก็ย่อมได้ฤกษ์รับรถเดือนเมษายน ...

เเสดงความคิดเห็น

app-icon
app-icon
app-icon
ดูรถในฝันของคุณในแอป
ดาวน์โหลดแอปตอนนี้