Honda City ถือเป็นรถรุ่นยอดฮิตที่สุดในตลาดรถเมืองไทย เนื่องจากมีราคาถูก ประหยัดน้ำมัน แถมสมรรถนะก็ดีเลยล่ะ เรียกได้ว่าคุ้มค่าสุด ๆ จนทำให้ ฮอนด้าซิตี้ มือสอง ยังเป็นที่นิยมในตลาดอีกด้วย
ประวัติศาสตร์ HONDA CITY (2524-2565)
Honda City มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ถือเป็นจุดกำเนิดเริ่มต้น กับรถกลุ่ม B-Segment ในเมืองไทย มาตั้งแต่ปี 1996 และถือเป็นรถอีกหนึ่งรุ่นจาก ฮอนด้า ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เป็นรถที่ผลิตในประเทศไทย และถูกส่งออกไปจัดจำหน่ายยังต่างประเทศ ทำรายได้ให้กับประเทศไทยมหาศาล ด้วยยอดขายรวมมากกว่า 1.5 ล้านคัน ใน 40 ประเทศทั่วโลก
จริงๆแล้ว Honda City ได้ถือกำเนิดเกิดมานานแล้วในประเทศญี่ปุ่น ในรูปแบบรถยนต์ Hatchback คันเล็ก ในปี 1981
Honda City Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2524 – 2529)
รุ่นแรกของ Honda City ใช้รหัสรุ่น SA-7 เริ่มผลิตเป็นรถ Hatchback 3 ประตู มีจุดเด่นตรงที่รถมีความสูงมาก แบบที่เรียกว่า Tall Boy และด้านในกว้างขวางด้วยหลังคาที่สูง ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และมีการปรับโฉมออกมาในหลายรูปแบบ ไปจนถึงในรูปแบบรถเปิดประทุน รวมถึงเครื่องยนต์ด้วยเช่นกัน มีหลากหลาย มีเครื่องยนต์เทอร์โบด้วย
เริ่มต้นด้วย เครื่องยนต์ รหัส ER เบนซิน 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว 1,231 ซีซี เริ่มต้นที่ 61 แรงม้า (PS) ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 9.8 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ/นาที ขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วย เกียร์ธรรมดา 4 จังหวะ หรือ เกียร์อัตโนมัติ HONDAMATIC 3 จังหวะ
Honda City Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2529 – 2537)
ฮอนด้า ซิตี้ เจเนอเรชันต่อมา ได้ยกเลิกการผลิตรถรุ่นเปิดประทุนออกไป เพื่อเจาะกลุ่มคนเฉพาะมากขึ้น เนื่องจากโฉมนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ทำให้ Honda City โฉมนี้ หยุดการผลิตลงใน พ.ศ. 2537 และซิตี้หยุดการผลิตไปนานถึง 2 ปี ก่อนจะนำกลับมาผลิตใหม่อีกครั้ง และทำให้ Generation ถัดมาจากนี้เป็นต้นจุดเริ่มต้น ให้ Honda City ถูกผลิตในประเทศไทย
เริ่มต้นเครื่องยนต์ใน Honda City Generation ที่ 2 เป็นรหัส D12A เบนซิน 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว Crossflow 1,237 ซีซี เสื้อสูบแบบ ALuminium กระบอกสูบ x ช่วงชัก 72 x 76 มิลลิเมตร กำลังอัด 9.5 : 1 กระเดื่องวาล์วแบบ Aluminium Rocker Arm จ่ายเชื้อเพลิงด้วย คาร์บิวเรเตอร์เดี่ยวท่อคู่ดูดลงล่าง ควบคุมด้วยแผงวงจรอีเล็กโทรนิคส์ PGM-CARB กำลังสูงสุด 76 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 10.0 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที มีทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ HONDAMATIC
Honda City Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2539 – 2545)
การเปิดตัวครั้งแรกในโลกของ Honda City Sedan เกิดเริ่มขึ้นที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 เมษายน 1996 ผลิตจากโรงงานในประเทศไทย รถยนต์ ฮอนด้า ซิตี้ เป็นที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไม่ได้มีจัดจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น เพราะซิตี้โฉมนี้ถูกสร้างมาเพื่อคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ โดยเปลี่ยนมาเน้นการผลิตรถ sedan
Honda City มาพร้อมเครื่องยนต์ D15B เบนซิน 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,493 ซีซี ที่ใช้วิธีขยายความจุกระบอกสูบด้วยการเพิ่มช่วงชักจากเครื่องยนต์ D13B ของรุ่น 1,300 ซีซี เดิม (กระบอกสูบ x ช่วงชัก 75 x 84.5 มิลลิเมตร) กำลังอัด 9.4 : 1 จ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอีเล็กโทรนิคส์ PGM-FI แรงขึ้นเป็น 105 แรงม้า (PS) ที่ 6,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.7 กก.-ม.ที่ 4,600 รอบ/นาที ขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 3 จังหวะ
Honda City Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2545 – 2551)
City รุ่นที่ 2 เปิดตัวครั้งแรกในโลก ที่เมืองไทย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2002 ถูกสร้างขึ้น โดยใช้โครงสร้างตัวถังด้านหน้า ร่วมกับ Honda Fit/Jazz รุ่นแรก ทำให้การออกแบบทรงแปลกตาหลังคาจะเป็นทรงสูง เน้นการบรรจุของได้เยอะ พร้อมกับความอเนกประสงค์ ในการพับเบาะในรูปแบบต่างๆได้ และได้มีการปรับเครื่องยนต์ใหม่ ระบบ i-DSI(2 หัวเทียน) เน้นการประหยัดน้ำมัน
เครื่องยนต์ L15A2 เบนซิน 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว 1,488 ซีซี หัวฉีด PGM-FI เวอร์ชัน i-DSi (2 หัวเทียน) แต่ให้กำลังแค่ 88 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.4 กก.-ม.ที่ 2,700 รอบ/นาที ขับเคลื่อนล้อหน้าด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ หรือเกียร์ อัตโนมัติ อัตราทดแปรผัน CVT แบบ ล็อกตำแหน่งพูเลย์ได้ 7 จังหวะ พร้อม แป้นเปลี่ยนเกียร์ +/- ที่เรียกว่า Steermatic บนก้านพวงมาลัยทั้งฝั่งซ้ายและขวา ซึ่งเกียร์ลูกนี้ Honda นำมาติดตั้งเป็นครั้งแรกในไทย
Honda City Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2557 )
City Sedan รุ่นที่ 3 ถูกเปิดตัวในเมืองไทย เมื่อ 10 กันยายน 2008 มีจำหน่ายในประเทศไทย รูปทรงใหม่ที่โฉบเฉี่ยว ทันสมัย ตัวรถมีความกว้างขวางขึ้น หลังคาทรงสูงหายไป โดยจะมี 3 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V และ SV ซึ่งรุ่น S จะมีราคาที่ถูกสุด และ SV จะมีราคาแพงที่สุด และเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากด้วยสภาวะน้ำมันที่แพงขึ้น
ซึ่งในปี พ.ศ. 2554 ฮอนด้าประเทศไทยได้มีการปรับโฉม Minorchange ฮอนด้า ซิตี้ และในปี พ.ศ. 2555 ฮอนด้าได้เปิดตัวรุ่น City CNG ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้พลังงานทางเลือก และ ยังมีรุ่นพิเศษ Modulo ซึ่งตกแต่งด้วยชุดแต่งModulo ก่อนที่จะมีการปรับโฉม Full Modelchange ในปี พ.ศ. 2557
ขุมพลัง City ถูกอัพเกรดใหม่ บนพื้นฐานจากบล็อกเดิม เป็นเครื่องยนต์ รหัส L15A7 เบนซิน 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 1,497 ซีซี หัวฉีดอีเล็กโทรนิคส์ PGM-FI พร้อมระบบแปรผันวาล์ว i-VTEC แรงจัดจ้านขึ้นจากเดิม เป็น 120 แรงม้า (PS) ที่ 6,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.8 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที ขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ ลูกใหม่
Honda City Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2557 – 2562)
ฮอนด้า City Sedan รุ่นที่ 4 เป็นรุ่นที่เปิดตัวในประเทศ อินเดีย ถือเป็นประเทศแรกที่ ไม่ใช่ประเทศไทยในการเปิดตัว ได้ทำการเปิดใน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2013 ส่วนประเทศไทย ได้เปิดตัวต่อจากอินเดีย เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2014 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ BiTEC สี่แยกบางนา โดยโฉมนี้ เปิดตัว โดยจะมี 5 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S (เกียร์ธรรมดา), V , V+ , SV และ SV+ จุดเด่นกับระบบความปลอดภัยที่มีมากขึ้น
สำหรับเครื่องยนต์ก็ยังใช้เครื่องยนต์ตัวเดิม ขนาด 1.5 ลิตร แต่พละกำลังถูกลดลงเล็กน้อยลงเหลือ 117 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 146 นิวตัว-เมตรที่ 4,700 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ CVT พร้อมระบบ Paddle Shift 7 สปีด และมีเกียร์ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นล่างสุด รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E85 ในทุกรุ่นย่อย พร้อมกับระบบ Econ Assist ที่ช่วยให้การขับขี่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น
Honda City Generation ที่ 7 (พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)
Honda City รุ่นที่ 5 ปัจจุบัน ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกในโลก ที่ประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2019 จากนั้น กับการปรับโฉมครั้งใหญ่ โดยจะมี 4 รุ่น ให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V , SV และ RS โดยมีจุดเด่นกับเครื่องยนต์ที่ได้รับการปรับเป็นเครื่องยนต์ 1.0 ลิตร Turbo และตามมาติดๆกับเครื่องยนต์ e:HEV (ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี) พร้อมทั้งมีรุ่นย่อยในตัวถังใหม่ Honda City Hatchback (ฮอนด้า ซิตี้ แฮชท์แบ็ก) ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในโลกกับตัวถังรูปแบบใหม่ของรถรุ่นนี้ จึงทำให้ยกเลิก Honda Jazz
พร้อมกับเพิ่มระบบความปลอดภัย ระดับสูงอย่าง Honda Sensing (ฮอนด้า เซนส์ซิ่ง) ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดในเซกเมนต์
Honda City รุ่นที่ 5 กับเครื่องยนต์รหัส P10A6 เบนซิน 3 สูบ DOHC 12 วาล์ว 988 ซีซี. ฉีดจ่ายเชื้อเพลิงแบบ ตรงเข้าห้องเผาไหม้ Direct-Injection พร้อมระบบแปรผันวาล์ว พ่วงระบบอัดอากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler ขนาดเล็ก ระบายความร้อนด้วยน้ำ กำลังสูงสุด 122 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 173 นิวตันเมตร (17.6 กก.-เมตร) ที่ 2,000 – 4,500 รอบ/นาที รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ E20
ส่งกำลังสู่ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเกียร์อัตโนมัติ อัตราทดแปรผัน CVT 7-Speed ใช้ Torque Converter ควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ สามารถล็อกอัตราทดพูเลย์ได้ 7 ตำแหน่ง พร้อมแป้นเปลี่ยนเกียร์ Paddle Shift ด้านหลังพวงมาลัย
สำหรับ Honda City ถือเป็นรถยนต์ใน กลุ่ม B-Segment ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เดินทางมาถึง Generation ที่ 7 บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความนิยมมาโดยตลอดและอยู่ในประเทศไทยมายาวนานถึง 5 รุ่นแสดงให้เห็นว่าได้รับความนิยม รวมไปถึงการส่งออกด้วยเช่นกัน
Honda City มือสอง ปีไหนได้รับความนิยมสูงสุด
ฮอนด้า ซิตี้ มือสอง รุ่นยอดฮิต ได้แก่
ตารางผ่อน Honda City มือสอง ผ่อนต่อเดือนเท่าไร
Model |
ราคากลาง |
48 เดือน |
60 เดือน |
84 เดือน |
City ปี 2021 |
551,947 |
13,914 |
11,614 |
8,986 |
City ปี 2020 |
491,545 |
12,391 |
10,343 |
8,002 |
City ปี 2019 |
481,229 |
12,131 |
10,126 |
7,834 |
City ปี 2018 |
488,000 |
12,302 |
10,268 |
7,945 |
City ปี 2017 |
431,694 |
10,882 |
9,084 |
7,028 |