One2car.com
แอปพลิเคชัน One2Car
ทำนายราคารถของคุณ
4.5
21,133

น้ำมันเครื่องมีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี พร้อมแปลรหัสบนถังน้ำมันเครื่อง

เรื่องเด่น

น้ำมันเครื่องมีกี่แบบ เลือกแบบไหนดี พร้อมแปลรหัสบนถังน้ำมันเครื่อง

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับเครื่องยนต์คือน้ำมันเครื่อง เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดอัตราการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้ วันนี้เราจึงจะพาทุกท่านมารู้จักน้ำมันเครื่องว่ามีกี่แบบ และควรเลือกแบบไหน พร้อมกับสอนดูรหัสน้ำมันเครื่องบนถังแกลลอนไปพร้อมๆ กัน

น้ำมันเครื่องมีกี่ชนิด อะไรบ้าง การใช้งานต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่องถูกแบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  • น้ำมันเครื่องยนต์เกรดธรรมดา (Synthetic) ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องยนต์เกรดกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
  • น้ำมันเครื่องยนต์เกรดสังเคราะห์ (Fully Synthetic) หรือน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.

น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดาจะมีราคาที่ถูกกว่าเกรดกึ่งสังเคราะห์และเกรดสังเคราะห์ ทั้งนี้ในปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันเครื่องก็จะมีความแตกต่างกันออกไปแล้วแต่แบรนด์ แต่ละแบรนด์ก็มีจุดเด่น มีประสิทธิภาพ และ คุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันอีกด้วย เช่น For NGV, LPG & Gasoline ก็จะสามารถใช้กับรถยนต์ที่ติดแก๊ส NGV และ LPG ได้ดี หรือ Heavy Duty ใช้กับรถบรรทุกหรือรถยนต์ที่บรรทุกของหนักได้ดี

"น้ำมันเครื่องธรรมดา" กับ "กึ่งสังเคราะห์" และ "สังเคราะห์แท้" ต่างกันยังไง

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic)

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ (Fully Synthetic) คือ น้ำมันเครื่องที่สังเคราะห์มาจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นการสังเคราะห์ทางเคมีในห้องแล็ปอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป โมเลกุลของน้ำมันเครื่องประเภทนี้จึงเป็นระเบียบและมีขนาดเท่ากันมากกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องธรรมดา

ส่วนผสมหลัก (Base Oil) = มาจากสังเคราะห์จากกระบวนการทางเคมี 75-90%

สารเติมแต่ง (Additives) = 10 - 25%

  • คงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ
  • ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์และเกรดธรรมดา ใช้งานได้นานสูงสุด 15,000 – 20,000 กิโลเมตร
  • ราคาแพงกว่าน้ำมันเครื่องชนิดอื่น
  • อัตราการระเหยต่ำ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เหมือนใหม่
  • หล่อลื่นเครื่องยนต์ดีที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำหรือสูง
  • ป้องกันเครื่องยนต์สึกหรอได้เป็นอย่างดี จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการดูแลรถเป็นพิเศษ

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic)

น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ คือ น้ำมันเครื่องที่มีส่วนผสมของน้ำมันสังเคราะห์แท้และน้ำมันแร่ โดยสัดส่วนของน้ำมันทั้งสองชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ แม้จะมีอัตราส่วน 90:10 ก็ถือว่าเป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์อยู่ดี

ส่วนผสมหลัก (Base Oil) = มาจากสังเคราะห์จากกระบวนการทางเคมี 10-40% และกลั่นจากน้ำมันดิบ 10 - 40%

สารเติมแต่ง (Additives) = 10 - 25%

  • ดีกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา แต่ราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องเกรดสังเคราะห์แท้
  • ใช้งานได้ค่อนข้างนาน ตั้งแต่ 5,000 กม. สูงสุดถึง 10,000 กม.
  • หล่อลื่นเครื่องยนต์ได้ดี แต่ในช่วงอุณหภูมิสูง ๆ จะหล่อลื่นได้ไม่ดีเท่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้
  • เหมาะกับคนที่อยากดูแลรถ แต่ไม่อยากจ่ายแพง จึงเป็นเกรดน้ำมันเครื่องที่คนใช้มากที่สุด

น้ำมันเครื่องยนต์เกรดธรรมดา (Synthetic)

น้ำมันเครื่องยนต์เกรดธรรมดา คือ น้ำมันเครื่องที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบ หรือน้ำมันแร่ (Mineral Oils) ส่วนผสมหลักจึงเป็นน้ำมันจากธรรมชาติล้วน ๆ โมเลกุลของน้ำมันประเภทนี้จึงแตกต่างจากน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ทั้งในเชิงกายภาพและเชิงเคมีด้วย

ส่วนผสมหลัก (Base Oil) = กลั่นจากน้ำมันดิบ 75 - 90%

สารเติมแต่ง (Additives) = 10 - 25%

  • ราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ 100%
  • ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายสั้น สูงสุดแค่ 5,000 กิโลเมตร

ทำความรู้จักตัวอักษรบนถังน้ำมันเครื่อง

API คือ American Petroleum Institute หรือ สถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

SAE คือ Society of Automotive Engineers หรือ สมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

ASTM คือ American Society for Testing Materials หรือ สมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

น้ำมันเครื่อง

วิธีดูรหัสบนถังแกลลอนน้ำมันเครื่อง

มาดูกันที่รหัสบนขวดน้ำมันเครื่องกัน หากสังเกตดีๆ นอกจากจะมีค่า API ยังมีรหัสอื่นๆ ระบุไว้ด้วย ซึ่งตามรูปด้านบนเราจะถอดรหัสออกมาเป็น “10W-30 API CI-4 Semi Synthetic” โดยเราจะแบ่งการตีความออกเป็น 4 ชุดได้ดังนี้ 10W / 30 / API CI-4 / Semi Synthetic 

ชุดแรก “10W”

ตัวอักษร “W” บนถังน้ำมันเครื่อง หมายถึง ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง แบ่งเป็นระดับได้ตามนี้

  • 0W สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 5W สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 10W สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 15W สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
  • 20W สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

ชุดที่สอง “30”

ตัวเลข 30 บ่งบอกถึงค่าความหนืดข้น

ซึ่งความหนืดของน้ำมันเครื่องจะมีผลต่อการหล่อลื่นและช่วยลดการสึกหรอ ความหนืดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์ทั่วไปอยู่จะอยู่ที่ 20 - 40 ซึ่งค่าความหนืดจะมีให้เลือกตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ค่ามาก ยิ่งหนืดมาก ค่าน้อยความหนืดก็น้อยตาม

ชุดที่สาม API CI-4

API CI-4 บ่งบอกถึงประเภทน้ำมันเครื่องและค่ามาตรฐานของน้ำมันเครื่อง

ค่านี้จะบอกว่าใช้สำหรับเครื่องยนต์ประเภทใด และมีมาตรฐานอยู่ในระดับใด ดังนั้น API CI-4 คือ น้ำมันเครื่องดีเซลตามมาตรฐานของ API (American Petroleum Institute) สถาบันที่ค้นคว้าวิจัยและวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2002

ชุดที่สี่ Semi Synthetic

Semi Synthetic คือ การบ่งบอกถึงเกรดของน้ำมันเครื่องยนต์ว่าเป็นเกรดใด

โดยเกรดน้ำมันเครื่องมีทั้งหมด 3 เกรด ซึ่งจากชุดนี้ จะหมายถึงน้ำมันเครื่องเกรดกึ่งสังเคราะห์ หากเป็น Fully Synthetic = สังเคราะห์แท้, แต่ถ้าเป็น Synthetic = เกรดธรรมดา

เมื่อเรารู้ทั้งหมดแล้วเราจะสามารถถอดรหัส “10W-30 API CI-4 Semi Synthetic” ออกมาได้เป็น “น้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลเกรดกึ่งสังเคราะห์ มาตรฐานคุณภาพระดับปานกลาง ความหนืดระดับมาตรฐานเครื่องยนต์ที่ 30 สามารถทนความเย็นและคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาฯ” นั่นเอง

ตัวอย่าง

เกรดน้ำมันเครื่อง 5w30 = ทนความเย็นและคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาฯ ความหนืดข้นเท่ากับ 30
เกรดน้ำมันเครื่อง 10w30 = ทนความเย็นและคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาฯ ความหนืดข้นเท่ากับ 30
เกรดน้ำมันเครื่อง 10w40 = ทนความเย็นและคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาฯ ความหนืดข้นเท่ากับ 40

เลือกน้ำมันเครื่องรถอย่างไรให้เหมาะสม

เบอร์น้ำมันเครื่องที่นิยมใช้กันมากที่สุดในบ้านเรา คือ 15w40 และ 20w50 ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องเลือกเบอร์นี้ก็ได้ แต่ในช่วงหน้าร้อน แนะนำให้เลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืด 30 ขึ้นไปจะดีกว่า เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศในบ้านเรา

ทางที่ดี ควรเลือกเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์และสภาพการใช้งาน หากเป็นรถใหม่แนะนำให้เลือกเบอร์ที่หนืดใส จะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น 10w30 แต่ถ้าเป็นรถเก่าที่ชอบกินน้ำมันเครื่อง แนะนำให้เลือกเบอร์ที่หนืดข้นมากขึ้น เพื่อให้กินน้ำมันเครื่องได้น้อยลง เช่น 20w50

ควรขยับเบอร์น้ำมันเครื่องเมื่อไหร่?

หากจะเลือกเปลี่ยนน้ำมันเครื่องให้เลือกดูที่อายุการใช้งานของเครื่องยนต์เป็นหลัก โดยให้เราตัดสินใจเปลี่ยนเบอร์น้ำมันเครื่องจากค่าความหนืด เพราะอุณภูมิในประเทศไทยค่อนข้างมีความร้อนชื้นจึงไม่ค่อยมีปัญหาที่ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่อง เน้นไปเปลี่ยนเบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องดีกว่า

หากเครื่องยนต์ใหม่ให้เริ่มที่ความหนืด 40 และปรับเบอร์ความหนืดให้เป็น 50 เมื่อเราใช้งานรถยนต์มานานแล้ว เพื่อให้คงสภาพเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีเหมือนเดิมไปตลอดครับ 

ตัวอักษรแยกความแตกต่างระหว่างน้ำมันเครื่อง “เบนซิน” และ “ดีเซล”

เครื่องยนต์ของรถมีทั้งแบบ “เบนซิน” และ “ดีเซล” เพราะฉะนั้น น้ำมันเครื่องก็จะแบ่งเป็นสำหรับเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลเช่นกัน โดยเราต้องสังเกตจากหน้าขวดน้ำมันเครื่องแต่ละขวดจะมีการระบุค่ามาตรฐาน API (American Petroleum Institute Standard) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานน้ำมันโลกระบุไว้บนขวด

  • น้ำมันเครื่องเบนซินจะขึ้นต้นด้วย S เช่น API SM
  • เครื่องดีเซลจะขึ้นต้นด้วย C เช่น API CI-4

รหัสบนถังน้ำมันเครื่อง

มาตรฐานน้ำมันเครื่องเบนซิน

  • API SN จะเป็นมาตรฐานระดับสูงสุดของน้ำมันเครื่องเบนซินสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน E85 โดยเฉพาะ ประกาศใช้เดือนตุลาคม ในปี 2010
  • API SM คือ น้ำมันเครื่องเบนซินสำหรับเครื่องยนต์ปี 2010 และเก่ากว่า
  • API SL คือ น้ำมันเครื่องเบนซินสำหรับเครื่องยนต์ปี 2004 และเก่ากว่า
  • API SJ คือ น้ำมันเครื่องเบนซินสำหรับเครื่องยนต์ปี 2001 และเก่ากว่า
  • API SH คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1996 และเก่ากว่า*
  • API SG คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1993 และเก่ากว่า*
  • API SF คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1988 และเก่ากว่า*
  • API SE คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1979 และเก่ากว่า*
  • API SD คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1971 และเก่ากว่า*
  • API SC คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1967 และเก่ากว่า*
  • API SB คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1951 และเก่ากว่า*
  • API SA คือ น้ำมันเครื่องที่เหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นที่สร้างขึ้นปี 1930 และเก่ากว่า*

*ล้าสมัยแล้ว ถ้าเครื่องยนต์ที่ทันสมัยใช้เกรดนี้ อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์ลดลง หรือ อุปกรณ์ต่างๆอาจเสียหายได้

มาตรฐานน้ำมันเครื่องดีเซล

  • API CK-4 เป็นมาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันเครื่องดีเซล ประกาศใช้เมื่อปี 2017
  • API CJ-4 เป็นค่ามาตรฐานที่ออกมาในปี 2006 สำหรับเครื่องยนต์ความเร็วสูง 4 จังหวะ ออกแบบมาเพื่อเครื่องยนต์ทุกประเภทที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซลที่มีกำมะถันสูงถึง 500 ppm (0.05% โดยน้ำหนัก)
  • API CI-4 เป็นค่ามาตรฐานที่ประกาศใช้เมื่อปี 2002 สำหรับของน้ำมันสำหรับใช้ในเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะความเร็วสูง
  • API CI-4 Plus ใช้ร่วมกับ API CI-4 ช่วยป้องกันความหนืดที่เพิ่มขึ้นจากเขม่า และการสูญเสียความหนืดจากแรงเฉือนในเครื่องยนต์ดีเซล อีกทั้งมาตรฐานนี้ยังมีความสามารถในการประหยัดพลังงานด้วย
  • API CH-4 คือ น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะความเร็วสูง โดยออกแบบเพื่อให้ได้มาตรฐานการปล่อยไอเสียปี 1998 มีสมรรถนะสูงกว่ามาตรฐาน API CF, CF-4 และ API CG-4
  • API CG-4 คือ น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะความเร็วสูงที่ใช้ในงานหนักทั้งบนทางหลวง
  • API CF-2 คือ ค่ามาตรฐานของเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพและการควบคุมเพื่อลดรอยขูดขีดและสิ่งสกปรกบนผนังกระบอกสูบและแหวนลูกสูบ
  • API CF คือ ค่ามาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล indirect-injection และเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไปที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถันสูง
  • API CF-4 ค่ามาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะความเร็วสูง ใช้แทน API CE เพราะสามารถควบคุมการกินน้ำมันหล่อลื่นและสิ่งสกปรกของลูกสูบได้ดียิ่งขึ้น เหมาะกับรถบรรทุกบนทางหลวง หากระบุรวมกับตัวอักษร S สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน
  • API CE เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทำงานหนักทั่วไป ชนิดที่มีเทอร์โบชาร์จเจอร์หรือซูเปอร์ชาร์จ ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 1983
  • API CD-II เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ ที่ต้องการควบคุมการสึกหรอและสิ่งสกปรกอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้แทน API CD ได้
  • API CD เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป ที่มีระบบเทอร์โบชาร์จหรือซูเปอร์ชาร์จ ถูกออกแบบมาให้ใช้งานในปี 1955
  • API CC มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ได้รับการแนะนำในปี 1961 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป ที่มีเทอร์โบชาร์จหรือซูเปอร์ชาร์จ ใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลใช้งานปานกลางถึงหนักและเครื่องยนต์เบนซินบางรุ่นที่ใช้งานหนัก
  • API CB คือ ค่ามาตรฐานที่ถูกออกแบบมาในปี 1949 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลที่ทำงานเบาถึงปานกลาง แต่ใช้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการปกป้องมากจากการสึกหรอและสิ่งสกปรก สามารถใช้ในเครื่องยนต์เบนซินงานเบาได้เป็นครั้งคราว
  • API CA ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในทศวรรษที่ 1940 และ 1950 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลงานเบาถึงปานกลาง แต่ใช้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพสูง สามารถใช้ในเครื่องยนต์เบนซินงานเบาได้เป็นครั้งคราว แต่ไม่ควรใช้ในเครื่องยนต์ใด ๆ เว้นแต่จะมีการแนะนำโดยผู้ผลิต
 
อัปเดตข่าวรถล่าสุด ดูรีวิวรถยนต์ รีวิวรถมอเตอร์ไซค์ ทุกยี่ห้อ โดยทีมงานมืออาชีพ เช็คราคา ตารางผ่อน พร้อมเกาะติดข่าวสารรถยนต์ไฟฟ้า EV ไปกับ Autospinn

ซื้อขายรถมือสองออนไลน์ ที่ ตลาดรถมือสอง One2car ซื้อรถง่าย ขายรถไว ทั้งรถเก๋งมือสอง รถตู้มือสอง รถกระบะมือสอง ราคาดี ฟรีดาวน์ ผ่อนถูก คุณภาพพร้อมใช้งาน ทั้ง รถบ้านเจ้าของขายเอง หรือรถจากทางเต็นท์ที่เชื่อถือได้



Pakkawat Unchalee

Pakkawat Unchalee

Content Writer

เริ่มต้นจากการเป็นนักเขียนแห่งวงการจักรยานระดับไฮเอนด์ สู่การเป็นนักเขียนของเว็บไซต์รถยนต์มือสองอันดับหนึ่งอย่าง one2car ถึงแม้จะมีความถนัดเรื่องจักรยานระดับไฮเอนด์เป็นพิเศษ แต่เรื่องรถยนต์ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน หวังว่าทุกท่านจะเพลิดเพลินไปกับบทความที่ถูกเขียนโดยการจิ้มแป้นพิมพ์ของผมครับ


ข่าวฟีเจอร์

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

แนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า ‘ยังไงก็รอด’ ปี 2567 ต้นทุนแบตถูกลง 50%

เรื่องเด่น
เจาะแนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้า EV จะกลายเป็นรถยนต์แห่งอนาคตจริงหรือไม่ ? ปฏิวัติการขนส่งได้อย่างไร เคลียร์ความสงสัยได้ในบทความนี้ผ่าแนวโน้มอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า ...
ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

ในยุคของรถยนต์ไฟฟ้า รถสันดาปมือสองจะตายจากเราไปหรือไม่?

เรื่องเด่น
เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ากำลังกลายเป็นกระแสหลักในประเทศไทย ด้วยราคาที่เข้าถึงง่ายพร้อมออปชั่นล้นๆ ก็ทำให้เกิดคำถามว่า ...
ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ตามวันเกิด พร้อมเวลาล้อหมุน

เรื่องเด่น
มาแล้ว! ฤกษ์ออกรถ เมษายน 2567 ใครยังไม่มีฤกษ์รับรถ รีบเข้ามา! ซินแสดูให้จริง อยากรู้เกิดวันนี้ควรออกรถวันเวลาไหนก็ย่อมได้ฤกษ์รับรถเดือนเมษายน ...

เเสดงความคิดเห็น

app-icon
app-icon
app-icon
ดูรถในฝันของคุณในแอป
ดาวน์โหลดแอปตอนนี้