หากพูดถึงการต่อภาษีรถยนต์ คนส่วนใหญ่มักคิดไปเองว่ามันต้องเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสียเวลาแน่นอน ไม่รู้ต้องเริ่มจากตรงไหน ไม่รู้ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง แล้วรถที่ผ่อนอยู่ยังไม่ได้เล่มจะต่อได้ยังไง สุดท้ายจบด้วยคำว่า “จ้างเขาทำง่ายว่า”
ต่อภาษีรถยนต์ นอกเหนือจากค่าตรวจสภาพรถยนต์ ค่า พรบ. ค่าภาษีแล้ว ทำไมเรายังต้องเสียค่าจ้างอีกหลายร้อย ไปจนถึงหลักพัน ในเมื่อเราสามารถไปทำด้วยตัวเองได้ โดยใช้เวลาแค่ไม่กี่นาที ซึ่งขั้นตอน และ เอกสารที่ต้องเตรียมมีเพียงแค่ไม่กี่อย่างเอง เรามาดูกันครับว่าขั้นตอนและเอกสารมีอะไรบ้าง
เอกสารที่ต้องเตรียม
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ (เล่มรถ) ถ้ารถผ่อนอยู่ยังไม่ได้เล่มรถ ก็ให้ใช้สำเนาแทน
- พรบ.
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ (ใช้เฉพาะรถยนต์ที่มีอายุเกินกว่า7ปี) หากรถยนต์ที่ยังไม่ถึง7ปี ไม่ต้องใช้ใบตรวจสภาพ
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์
- ตรวจสภาพรถยนต์ หากรถยนต์ท่านมีอายุยังไม่ถึง7ปี ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย (นับอายุรถยนต์ จากวันที่จดทะเบียน) แต่หากรถยนต์ท่านมีอายุเกินกว่า7ปี ท่านต้องนำรถยนต์ไปตรวจสภาพ ซึ่งสถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ก็มีอยู่มากมาย ให้สังเกตสัญลักษณ์ ตรอ. (ย่อมาจาก ตรวจสภาพรถเอกชน)
- ซื้อพรบ. เราสามารถหาซื้อได้ที่ตัวแทน เช่นที่ธนาคาร ,ที่ ตรอ. ,ที่กรมการขนส่งทางบก แนะนำว่าให้ซื้อที่ ตรอ. จะสะดวกกว่า เพราะสามารถตรวจสภาพ และซื้อพรบ.ได้ที่นี่เลย
- ต่อภาษี เมื่อเราได้ใบตรวจสภาพและซื้อ พรบ. เรียบร้อยแล้ว ก็ขับรถไปที่กรมการขนส่งทางบกได้เลย ขับเข้าไปที่ช่อง “เลื่อนล้อต่อภาษี” เพื่อชำระค่าเสียภาษีประจำปี แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ หรือหากท่านใดไม่สะดวกไปที่กรมการขนส่งทางบก ก็สามารถต่อภาษี ผ่านทางออนไลน์ ที่ www.dlte-serv.in.th (เฉพาะรถที่ไม่ต้องตรวจสอบสภาพ) หรือสามารถต่อภาษีได้ที่ ไปรษณีย์ , ธนาคาร , จุดบริการตามห้างสรรพสินค้า , ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส
อัตราค่าเสียภาษีรถยนต์
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ป้ายทะเบียนตัวหนังสือสีดำ พื้นสีขาว อัตราค่าเสียภาษีประจำปี ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) ดังนี้
- 600 ซีซี แรก ซีซี ละ 0.50 บาท
- 601 -1,800 ซีซีๆ ละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท
ยกตัวอย่าง
รถยนต์ Honda Jazz ปี 2016 มีขนาดเครื่องยนต์ 1,497 ซีซี
วิธีคำนวณ
600 ซีซี แรก ซีซี ละ 0.50 บาท = 300 บาท
601 -1,497 ซีซีๆ ละ 1.50 บาท = 1,345.50 บาท
เท่ากับว่า Honda Jazz คันนี้ต้องเสียภาษี เท่ากับ 1,645.50 บาท
กรณีที่รถที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ลดให้ 10 %
- ปีที่ 7 ลดให้ 20 %
- ปีที่ 8 ลดให้ 30 %
- ปีที่ 9 ลดให้ 40 %
- ปีที่ 10 ขึ้นไป ลดให้ 50 %
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ป้ายทะเบียนตัวหนังสือสีเขียว พื้นสีขาว อัตราค่าเสียภาษีประจำปี ขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ ดังนี้
- น้ำหนักรถ 501- 750 กก. อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 – 1000 กก. อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กก. อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กก. อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กก. อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กก. อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กก. อัตราภาษี 1,650 บาท
กรณีที่รถที่จดทะเบียนเกิน 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อไป เช่นเดียวกันกับด้านบน
อย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุกันนะครับ สามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ 3 เดือน หากปล่อยภาษีขาด จะต้องเสียค่าปรับเดือนละ 1% และถ้าขาดต่อเกิน 3 ปี ท่านต้องนำรถไปจดทะเบียนใหม่นะครับ หากท่านใดนำรถที่ขาดต่อภาษีมาใช้ ถือว่าผิดกฎหมาย เวลาพี่ๆตำรวจเจอโดนใบสั่งนะจ๊ะ
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2563 สามารถทำได้เอง ง่ายๆ
วิธีต่อภาษีรถจักรยานยนต์ออนไลน์ 2563 สามารถทำได้เอง ง่ายๆ
ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ 2563 มีขั้นตอนอย่างไร เสียเงินเท่าไหร่ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สามารถติดตามข่าวสารอัพเดตเพิ่มเติมได้ ที่นี่
สามารถค้นหารถยนต์คุณภาพดีได้ ที่นี่
ข่าวฟีเจอร์

ตรีเพชรอินชัวรันส์เซอร์วิส (TPIS) โบรกเกอร์ประกันคุณภาพ บริการครบจบโดยผู้เชี่ยวชาญ
ข่าววงการรถยนต์
ต่อใบขับขี่หมดอายุ หรือหาย 2566 ทำยังไง ใช้เอกสารอะไรบ้าง
เรื่องเด่น
รวมรถยนต์ไฟฟ้า EV มือสอง ราคาถูก น่าซื้อที่สุดในปี 2023
รถยนต์ไฟฟ้า